“ขวดครีมกันแดด” อีกแพคเกจจิ้งที่น่าสนใจนอกจากการใช้หลอด

ขวดครีมกันแดด นั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่ง Packaging ที่น่าสนใจไม่แพ้แบบหลอดเลยก็ว่าได้ค่ะ ซึ่งแท้จริงแล้ว Packaging ทั้ง 2 แบบนั้นมีคุณสมบัติที่ไม่แตกต่างกันมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการปกป้องและถนอนประสิทธิภาพของสินค้าที่ถูกบรรจุอยู่ด้านใน แต่ก็อาจจะมีข้อแตกต่างของการดีไซน์และอาจรวมถึงการเลือกนำมาใช้เมื่อสินค้ามีปริมาณที่ต้องถูกบรรจุเพิ่มขึ้น  ดังนั้น แพคเกจจิ้งแบบขวดจึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผลิตภัณประเภทครีมกันแดดนั่นเองค่ะ

ขวดครีมกันแดด อีกหนึ่ง Packaging ที่ห้ามพลาด ดีไซน์ได้หลายแบบ ป้องกันสินค้าได้ดี ตอบโจทย์สุด ๆ

สำหรับครีมกันแดด ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการปกป้องผิว เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องฝ้า กระ จุดด่างดำแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังด้วย ดังนั้นการเลือกผลิตภัณฑ์กันแดดจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคมาก ๆ โดยนอกจากประสิทธิภาพของสินค้าที่จะสามารถโน้มน้าวใจให้กลุ่มเป้าหมายซื้อสินค้าของเราได้ก็ยังรวมไปถึงเรื่องแพคเกจจิ้งของครีมกันแดดด้วยเช่นกัน ที่ต้องมีคุณภาพ มีมาตรฐานที่ดี และดีไซน์ที่สวยเก๋และตอบโจทย์การใช้งานผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจาก แพคเกจจิ้งแบบหลอด เจ้าของแบรนด์หลาย ๆ คนอาจยังนึกไม่ออกว่าจะมีแพคเกจจิ้งแบบไหนที่น่าสนใจอีกบ้าง ในบทความนี้ Plastic Park จึงขอนำเสนอแพคเกจจิ้งแบบขวดเพื่อให้เป็นอีกหนึ่งไอเดียสำหรับการทำ Packaging สินค้าค่ะ

กันแดด คืออะไร?

กันแดด คือ ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด โดยมีรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวีเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง รวมถึงสร้างเม็ดสีเมลานินที่ส่งผลให้ผิวคล้ำ การทาครีมกันแดดจึงจำเป็นมากในแต่ละวัน ต่อให้อยู่ที่ร่มหรือไม่ได้เจอกับแสงแดด ก็ยังคงต้องทาอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันปัญหาผิวอย่าง ฝ้า กระ และจุดด่างดำ รวมถึงการมีริ้วรอยก่อนวัยอันควร ซึ่งกันแดดของแต่ละแบรนด์ก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การเลือกแพคเกจจิ้งยิ่งต้องเลือกให้ตอบโจทย์ทั้งในด้านรักษาประสิทภาพของตัวผลิตภัณฑ์และความสวยงามด้วย

ขวดกันแดด 50ml

ครีม กับ โลชั่น รูปแบบกันแดดทั้ง 2 แบบ ต่างกันยังไง แต่ละแบบเหมาะกับแพคเกจจิ้งแบบไหน?

จากที่ได้บอกไปว่า แม้จะดูมีลักษณะที่เหมือนกัน แต่ทั้งครีมและโลชั่นนั้น มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ ซึ่งจุดแตกต่างดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้…

ครีม (Cream) คือ…

ครีมบำรุงผิวส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของน้ำมัน (Oil) + น้ำ (Water) ซึ่งจะมีความเข้มข้นของเนื้อครีมสูงมากที่สุด หากเทียบกับการทำงานรูปแบบ (Body Form) การดูดซึมเนื้อครีมเข้าสู่ผิวได้ช้ากว่าการบำรุงผิวชนิดอื่น เนื้อครีมที่นิยมใช้กันในปัจจุบันอาจมีการใส่ส่วนผสมของสาร Active Ingredients เพื่อให้ผิวได้รับการบำรุงอย่างเต็มที่ โดย “ครีม(Cream)” เหมาะสำหรับสาวผิวแห้ง เนื่องจากผิวขาดความชุ่มชื้น ใบหน้าลอก และเกิดริ้วรอยอ่อนกว่าวัยได้ง่ายกว่าผิวประเภทอื่น หลังจากใช้ครีมบำรุงผิวแล้วควรทำความสะอาดหน้าด้วยโฟมล้างหน้าที่มีค่า PH ควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

โลชั่น (Lotion) คือ…

เนื้อโลชั่นมีลักษณะคล้ายครีมมาก แต่จะมีส่วนประกอบของน้ำ(Water) มากกว่าเนื้อครีม เพิ่มส่วนผสมของสาร Active Ingredients วิตามิน หรือสารสกัดบำรุงผิวพรรณชนิดอื่นลงเนื้อโลชั่นได้ จะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงผิวใหม่สวยกระจ่างใสขึ้นกว่าเดิม ซึ่ง “โลชั่น (Lotion)” เหมาะสำหรับผิวธรรมดา (Fluid) และผิวผสม ซึ่งผิวผสมเป็นผิวที่ค่อนข้างดูแลยาก หากเลือกใช้โลชั่นบำรุงผิวหน้า ควรทาในปริมาณที่พอเหมาะ เนื่องจากมีผิวมันบริเวณ T-Zone จึงต้องดูแลส่วนนี้เป็นพิเศษ
กล่าวโดยสรุป ครีม มีส่วนผสมที่เป็นน้ำมันมากกว่า เนื้อครีมจึงมีความหนาแน่นและเข้มข้น ในขณะที่  โลชั่น มีส่วนผสมที่เป็นน้ำมากกว่า เนื้อโลชั่นจึงมีความบางเบา ไม่เหนอะหนะ ซึบเข้าสู่ผิวได้ดีกว่านั่นเอง และเนื่องด้วยความแตกต่างในด้านส่วนผสมนี่เอง ทำให้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้จำเป็นที่จะต้องบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ที่มีความเฉพาะในการคงประสิทธิภาพของสินค้าไว้ให้ได้นานที่สุด

3 บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์โลชั่น และ ครีม

จากข้อมูลที่ได้กล่าวมา เจ้าของแบรนด์อาจเห็นแล้วว่า ทั้งโลชั่นและครีมนั้นจะต้องถูกบรรจุอยู่ใน Packaging ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสกินแคร์ที่มีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นสินค้าไลน์นี้จึงต้องมี Packaging หลาย ๆ แบบนั่นเองค่ะ เช่น..

1. กระปุก

เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลางถึงมาก เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อครีม, เนื้อ Emulgel, สครับ หรือเนื้อทรีทเมนต์ วัสดุของกระปุกที่แนะนำจะเป็นพลาสติก และ อะคริลิคเป็นหลัก

2.หลอด

 เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลาง ส่วนใหญ่จะเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มรองพื้น และกันแดด ซึ่งปัจจุบันนี้บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้จะมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งเป็นปากหลอดแบบธรรมดา หรือเป็นแบบหัวปั้ม airless ก็มีให้เลือก

3. ขวดหัวปั้มมีสายหรือขวดปั้ม

เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลางถึงน้อย เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเซรั่ม หรือ เอสเซนต์ หากเป็นในกลุ่มผิวกาย ขวดหัวปั้มมีสาย จะเหมาะกับผลิตภัณฑ์จำพวกสบู่เหลว แชมพู ครีมนวด และโลชั่น วัสดุส่วนใหญ่ของขวดประเภทนี้จะเป็นพลาสติกโดยมาก ซึ่งจะมีต้นทุนที่ราคาถูกว่าบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอะคริลิค หรือแก้ว

4. ขวดพลาสติก

จุดโดดเด่นของแพคเกจจิ้งแบบขวดพลาสติกนั้น คือ มีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่เปราะหรือแตกง่าย สามารถทนความเย็นได้เป็นอย่างดี แถมยังสามารถช่วยให้ผลิตภัณฑ์คงคุณภาพและมีอายุใช้งานนานกว่าขวดแบบอื่น สะดวกต่อการใช้งาน อีกด้วย

“ขวดพลาสติก” อีกหนึ่งแพคเกจจิ้งที่น่าสนใจสำหรับผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด

บรรจุภัณฑ์พลาสติก เป็นชนิดที่ถูกพบเห็นและทุกคนต่างเคยสัมผัสกันแล้วทั้งนั้น เนื่องจากตัวบรรจุภัณฑ์ชนิดนี้มีราคาที่ถูก และมีความแข็งแรงทำให้ถูกหยิบมาใช้ในหลาย ๆ ธุรกิจ โดยส่วนมากจะถูกนำไปใช้งานทำเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร, บรรจุภัณฑ์จำพวกขวดน้ำ และ บรรจุภัณฑ์สำหรับสกินแคร์ เครื่องสำอางต่าง ๆ เป็นต้น เพราะด้วยคุณสมบัติ ราคา และดีไซน์ที่สามารถออกแบบและจับต้องได้ง่าย จึงทำให้แพคเกจจิ้งรูปแบบนี้เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่น่าสนใจนั่นเอง

 

ขวดกันแดด 30ml

ข้อดี-ข้อเสีย ขวดชนิดพลาสติก ที่เจ้าของแบรนด์ควรทราบ

สำหรับข้อดีและข้อเสียของขวดพลาสติกนั้นก็มีหลายประการที่แตกต่างกันออกไป คือ…

ข้อดี

1.นำมารีไซเคิล หรือแปรรูปใหม่ได้
2.ขวดพลาสติกจำพวก HDPE มีความแข็งแรง นิยมผลิตเป็นกล่อง ขวด ดังนั้น บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกชนิดนี้ มีอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากชนิดอื่น จึงนำกลับมาใช้ซ้ำได้
3.พลาสติกมีน้ำหนักเบา พกพาสะดวก
4.ไม่สามารถทนต่อความร้อนสูงหรือความเย็นจัดได้

ข้อเสีย

1.พลาสติกที่แปรรูปใหม่มีคุณภาพด้อยลงจากเดิม
2.การใช้พลาสติกซ้ำกันหลายๆครั้งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารที่ใช้เป็นส่วนผสมของพลาสติก
3.การเผาพลาสติกโดยรวมจะก่อให้เกิดสารพิษในบรรยากาศจากสารที่เป็นส่วนประกอบของพลาสติก
4.ใช้เวลาย่อยสลายมากกว่า 700 ปี ขึ้นไป
ทั้งนี้ นอกจากเรื่องรูปแบบ ข้อดี ข้อเสีย ของแพคเกจจิ้งแล้ว อีกสิ่งที่เจ้าของแบรนด์ต้องเลือกก็คือวัสดุในการนำมาทำบรจจุภัณฑ์ซึ่งจะมีทั้งแบบแก้ว อะคลิลิค และพลาสติก สำหรับชนิดพลาสติกที่นิยมนำมาทำมาทำเป็น Skincare Packaging จะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ Polyethylene Terepthalate (PET) และ Polypropylene (PP) ซึ่งตัวที่มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสกินแคร์คือ PET เพราะเป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา สามารถรีไซเคิลได้ ราคาถูกกว่าแบบอื่น แถมยังช่วยป้องกันการทำลายเนื้อสกินแคร์จากแสงแดด อุณหภูมิ และออกซิเจนภายนอก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะลดประสิทธิภาพการทำงานของสกินแคร์และหมดอายุไวขึ้น

อย่างไรก็ตาม การเลือกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ของคุณเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเพราะหากผลิตภัณฑ์ของคุณดีมีคุณภาพแต่เลือกบรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพมาบรรจุแล้วเกิดการรั่วซึมหรือเลือกไม่เหมาะสมแล้วทำให้เกิดปฏิกิริยากับตัวผลิตภัณฑ์อาจจะทำให้คุณต้องเสียเงินและเวลาโดยที่ไม่จำเป็น

ท้ายที่สุด หากคุณกำลังมองหาโรงงานรับผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางรับผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางราคาปลีก-ส่ง ขายส่ง บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง PlasticPark เราเป็นโรงงานผลิต บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางและพิมพ์บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบครบวงจร ที่ยินดีให้บริการและคำปรึกษากับคุณ

Plastic Park ขายส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ขวดปั๊ม กระปุกครีม หลอดครีม พร้อมพิมพ์ไม่จำกัดสี

พลาสติกพาร์ค เราเป็นตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์ทุกชนิด เช่น กระปุกครีม หลอดครีม ขวดครีม หัวปั้ม หัวสเปรย์ เรามีรูปแบบของบรรจุภัณฑ์หลากหลายกว่า 1,500 รายการ จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ด้วยราคาจากโรงงานโดยตรง ทั้งนี้ เรามีรูปแบบของสินค้าให้เลือกมากมายกว่า 1,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง /ขวดพลาสติก/ขวดเครื่องสำอาง / กระปุกครีม / ขวดเซรั่ม /กระปุกสครับ /ตลับครีม / ขวดอโรม่า ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่จะนำไปต่อยอดสินค้าของแต่ละท่าน เพื่อสร้างความน่าสนใจ และเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่อยู่ด้านในได้อย่างลงตัว เราเชื่อว่า หากลูกค้าได้ข้อมูลที่เพียงพอ จะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ถูกต้อง ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้า และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เกณฑ์การเลือกบริษัทบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ที่เชื่อถือได้

3 สิ่งควรรู้ก่อนสั่งทำบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง

เลือกใช้กระปุกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบไหนดีนะ ?