วิธีทำไบโอพลาสติก มีขั้นตอนยังไง ตั้งแต่เริ่มจนขึ้นรูป ยากง่ายแค่ไหน มาดู

“วิธีทำไบโอพลาสติก” ถือเป็นอีกหนึ่งกรรมวิธีที่เจ้าของแบรนด์หรือผู้ประกอบการที่สนใจจะทำแพคเจจิ้งใส่สินค้าด้วยพลาสติกชนิดนี้ต้องทำการศึกษาค่ะ เพราะกระบวนการผลิตไบโอพลาสติกนั้นมีความแตกต่างจากพลาสติกทั่วไป ไม่เพียงแต่ใช้วัตถุดิบจากพืชเป็นหลัก เช่น แป้งมันสำปะหลัง ข้าวโพด หรืออ้อย แต่ยังต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะในกระบวนการหมัก การขึ้นรูป และการปรับคุณสมบัติให้เหมาะสมกับการใช้งาน

การทำความเข้าใจแต่ละขั้นตอนในการผลิตจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกแนวทางที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาไบโอพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร ถุงพลาสติก หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความแข็งแรงและทนทานเป็นพิเศษ บทความนี้ Plastic Park จะอธิบายตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการคัดเลือกวัตถุดิบ ไปจนถึงกระบวนการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้างให้ทุกคนได้ทราบ ซึ่งจะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง มาติดตามพร้อม ๆ กันค่ะ

วิธีทำไบโอพลาสติก มีขั้นตอนยังไง ตั้งแต่เริ่มจนขึ้นรูป ยากง่ายแค่ไหน มาดู

วิธีทำไบโอพลาสติก มีขั้นตอนอย่างไร ตั้งแต่ขั้นตอนแรกสู่การเป็นแพคเกจจิ้ง มีกรรมวิธียังไง มาดูกัน!!

“บรรจุภัณฑ์สมัยใหม่กับเทรนด์รักษ์โลกที่กำลังมาแรง” ถือเป็นเทรนด์ตอบโจทย์ผู้ซื้อยุคใหม่มากที่สุด เป็นโจทย์ที่เจ้าของแบรนด์ในยุคนี้ต้องตระหนักและทำการบ้านให้ดีทีเดียว เนื่องจากในปัจจุบันผู้บริโภคมีพฤติกรรมหรือเทสในการเลือกซื้อสินค้าที่แตกต่างออกไปจากเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก จากที่เคยตระหนักเพียงแค่คุณภาพของสินค้า แต่เดี๋ยวนี้ผู้ซื้อหันมาใส่ใจตัวแบรนด์เพิ่มขึ้นด้วย เช่น แบรนด์มีส่วนร่วมเพื่อสังคมมากแค่ไหน แบรนด์ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้มมากแค่ไหน แบรนด์ทำการทดลองสินค้ากับสัตว์หรือไม่ ฯลฯ

ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แม้จะดูเป็น Topic เล็ก ๆ แต่มันก็สามารถทำให้ผู้ซื้อเปลี่ยนใจได้เลย โดยถ้าหากจะให้ผู้บริโภครู้จักเกี่ยวกับแบรนด์ได้ลึกขนาดนี้ สิ่งแรกที่แบรนด์ต้องทำก็คือ การทำให้ผู้บริโภคเห็นแบรนด์ให้ได้ก่อน ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่จะเป็น First Impresssion ได้ดีก็คือ บรรจุภัณฑ์ หรือ แพคเกจจิ้ง ที่ค่อนข้างต้องมีความโดดเด่นพอตัว เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจของผู้บริโภคนั่นเอง ซึ่งเราจะสามารถนำเทรนด์นี้มาปรับใช้กับบรรจุภัณฑ์ของเราได้อย่างไรบ้าง Plastic Park นำข้อมูลมาฝากแล้วค่ะ

มาทำความรู้จัก Bio Based Packaging บรรจุภัณฑ์ในเทรนด์รักษ์โลกที่เจ้าของแบรนด์ควรทำความรู้จัก

โดยทั่วไปแล้ว เราจะรู้กันดีว่าวัสดุแบบพลาสติกนั้นไม่นิยมนำมาร่วมกับแคมเปญเพื่อสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ได้เลย เพราะเป็นวัสดุที่ย่อยสลายยาก ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลาย ๆ คนจะรู้สึกว่า “พลาสติก” ไม่ใช่วัสดุที่ใกล้เคียงกับคำว่าบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนเลยแม้แต่น้อย แต่แท้จริงแล้ววัสดุอย่างพลาสติกก็สามารถถูกพัฒนาหรือเลือกนำมาใช้ให้เป็น  Sustainable Packaging ได้เช่นกัน โดยผ่านการนำวัสดุหรือพลาสติกอย่าง Bio Based เข้ามาใช้ ซึ่งเจ้า Bio Based นี้ คืออะไร มีข้อดีอย่างไร และนำมาทำเป็น Packaging ใดได้บ้าง มาดูไปพร้อม ๆ กันค่ะ

ไบโอพลาสติก คืออะไร?

ไบโอพลาสติกมีลักษณะคล้ายพลาสติกที่ทำมาจากพืช จึงสามารถย่อยสลายเป็นขยะได้และย่อยสลายทางชีวภาพได้ วัสดุเหล่านี้จึงมีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ต่ำ โดยวัสดุยอดนิยมที่ใช้ทำไบโอพลาสติก อาทิ สาหร่าย ข้าวโพด แป้งข้าวโพด ถั่ว ต้นอ้อย และรากผักต่าง ๆ พืชเหล่านี้สามารถแพร่พันธุ์และเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไบโอพลาสติกไม่เป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์อื่นๆ แต่ไม่แนะนำให้รับประทานเพราะวัสดุที่ใช้ทำบางชนิดไม่สามารถรับประทานได้ ทั้งนี้ ไบโอพลาสติกใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 3-6 เดือน ดังนั้นหากไบโอพลาสติกกลายเป็นขยะตามธรรมชาติ ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่าขยะพลาสติกทั่วไป เพราะไบโอพลาสติกไม่ได้ทำมาจากสารพิษที่เป็นอันตราย โดยข้อเสียของไบโอพลาสติกคือราคาสูงกว่าพลาสติกทั่วไป ซึ่งก็เป็นราคาที่ต้องจ่ายเพื่อความยั่งยืนค่ะ

ประเภทของ Bio-Based Plastic ที่ควรรู้จัก มีอะไรบ้าง?

จากที่ได้กล่าวไปค่ะว่า Bio-Based Plastic หรือ พลาสติกชีวภาพ นั้น คือ พลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น พืชหรือวัสดุชีวภาพอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้ทรัพยากรปิโตรเลียมและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งพลาสติกชีวภาพสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามคุณสมบัติของการย่อยสลาย คือ…

1.พลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ (Biodegradable Bio-Based Plastic)

เป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้โดยกระบวนการทางธรรมชาติ เช่น จุลินทรีย์ในดินหรือน้ำ โดยตัวอย่างที่นิยมได้แก่…
  • PLA (Polylactic Acid) ผลิตจากแป้งข้าวโพดหรืออ้อย นิยมใช้ในบรรจุภัณฑ์อาหาร แก้ว หลอด และฟิล์มพลาสติก คุณสมบัติสำคัญคือ มีความโปร่งใส น้ำหนักเบา แต่ไม่ทนความร้อนสูง
  • PHA (Polyhydroxyalkanoates) ได้จากกระบวนการหมักจุลินทรีย์ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมยาและการแพทย์ เช่น รอยเย็บแผลที่ละลายได้ มีคุณสมบัติโดดเด่นคือย่อยสลายได้ง่ายในธรรมชาติ ทนต่ออุณหภูมิสูงกว่าพลาสติก PLA
  • PBAT (Polybutylene Adipate Terephthalate) ผสมผสานระหว่างวัสดุชีวภาพและวัสดุสังเคราะห์ ใช้ในถุงพลาสติกย่อยสลายได้ โดยคุณสมบัติคือ มีความยืดหยุ่น แข็งแรง และย่อยสลายได้ในดิน

2. พลาสติกชีวภาพที่ไม่ย่อยสลายได้ (Non-Biodegradable Bio-Based Plastic)

พลาสติกกลุ่มนี้แม้จะผลิตจากวัสดุชีวภาพ แต่ยังคงมีคุณสมบัติคล้ายพลาสติกทั่วไป เช่น ทนทานต่อการใช้งาน และไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ตัวอย่างได้แก่:
  • Bio-PE (Bio-Polyethylene) ผลิตจากเอทานอลในอ้อยหรือข้าวโพด ใช้ในขวดพลาสติก ถุงหูหิ้ว และบรรจุภัณฑ์ทั่วไป มีคุณสมบัติที่น่าสนใจคือ น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น ทนทาน
  • Bio-PET (Bio-Polyethylene Terephthalate) ผลิตจากวัสดุชีวภาพผสมกับวัสดุสังเคราะห์ ใช้ในขวดน้ำอัดลมและบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง คุณสมบัติของพลาสติกชนิดนี้คือมีความใส เหนียว ทนต่อแรงดัน
  • Bio-PP (Bio-Polypropylene) ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ บรรจุภัณฑ์ และเครื่องใช้ในครัว คุณสมบัติคือมีความแข็งแรง ทนต่อความร้อนและสารเคมี
ทั้งนี้ ทุกคนจะเห็นได้ว่า Bio-Based Plastic นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ พลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้และไม่ย่อยสลายได้ โดยแต่ละประเภทมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน พลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะสั้น ส่วนขณะที่พลาสติกชีวภาพที่ไม่ย่อยสลายได้มีความแข็งแรงและทนทาน เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความทนทานในระยะยาว เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และบรรจุภัณฑ์ทั่วไป ดังนั้น การเลือกใช้พลาสติกชีวภาพที่เหมาะสมจึงเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสมดุลระหว่างการใช้งานและการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนค่ะ

วิธีการผลิตไบโอพลาสติก: ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขึ้นรูป มีขั้นตอนยังไง มาดูกัน!

ไบโอพลาสติกเป็นพลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบทางชีวภาพ เช่น แป้ง ข้าวโพด อ้อย หรือมันสำปะหลัง ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ กระบวนการผลิตไบโอพลาสติกโดยทั่วไปมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ ไปจนถึงการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริง ดังนี้

1. การเตรียมวัตถุดิบชีวภาพ

วัตถุดิบหลักที่ใช้ผลิตไบโอพลาสติกมักได้จากพืชที่มีแป้งหรือเซลลูโลสสูงค่ะ เช่น…

  • ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย หรือแป้งข้าวเจ้า: ใช้ผลิต PLA (Polylactic Acid)
  • น้ำมันพืช เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง: ใช้ผลิต PHA (Polyhydroxyalkanoates)

ซึ่่งโดยทั่วไป วัตถุดิบจะถูกบดหรือแปรรูปให้เป็นสารตั้งต้น เช่น กลูโคสหรือซูโครส เพื่อใช้เป็นแหล่งคาร์บอนในกระบวนการผลิตoyjogv’8jt

2. การหมัก (Fermentation) เพื่อสร้างสารตั้งต้น

หลังจากเตรียมวัตถุดิบแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการหมักโดยใช้แบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ เพื่อเปลี่ยนแป้งหรือน้ำตาลเป็นกรดแลคติก (Lactic Acid) หรือสารประกอบอื่นที่ใช้ผลิตพอลิเมอร์ชีวภาพ เช่น

  • PLA (Polylactic Acid) : ได้จากการหมักแป้งให้เป็นกรดแลคติก
  • PHA (Polyhydroxyalkanoates): ได้จากการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียที่สามารถผลิตพอลิเมอร์เอง

ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลา 24-72 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์และสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ค่ะ

3. การสังเคราะห์พอลิเมอร์ชีวภาพ

หลังจากได้สารตั้งต้นแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการทางเคมีเพื่อเปลี่ยนเป็นพอลิเมอร์ที่สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นไบโอพลาสติกได้ค่ะ

  • PLA: กรดแลคติกจะถูกทำให้เกิดปฏิกิริยาโพลีเมอไรเซชัน (Polymerization) ได้เป็นพลาสติกชีวภาพ
  • PHA: ใช้แบคทีเรียในการสร้างพอลิเมอร์โดยตรง แล้วสกัดออกมา

ขั้นตอนนี้ต้องใช้สารเร่งปฏิกิริยา และอาจต้องมีการทำให้บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของตัวพลาสติกค่ะ

4. การปรับแต่งคุณสมบัติ (Compounding & Blending)

พลาสติกที่ได้จากกระบวนการก่อนหน้านี้มักจะต้องผ่านการปรับแต่งเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยการเติมสารเสริมค่ะ เช่น…

  • Plasticizer  ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น
  • Fiber หรือ Fillers  เพิ่มความแข็งแรง เช่น เส้นใยจากพืช
  • สี หรือสารต้านจุลชีพ  ใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร

โดยกระบวนการนี้ช่วยให้ไบโอพลาสติกมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการขึ้นรูปและใช้งานจริงเพื่อให้เหมาะสมกับแพคเจจิ้งแต่ละรูปแบบค่ะ

5. การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ (Molding & Processing)

เมื่อได้เม็ดพลาสติกชีวภาพที่มีคุณสมบัติตามต้องการแล้ว สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายวิธี เช่น…

  • การฉีดขึ้นรูป (Injection Molding): ใช้ทำภาชนะ บรรจุภัณฑ์
  • การเป่าแผ่นฟิล์ม (Blown Film Extrusion): ใช้ทำถุงพลาสติก
  • การอัดขึ้นรูป (Extrusion Molding): ใช้ผลิตเส้นใย หรือวัสดุแผ่น

กระบวนการนี้คล้ายกับพลาสติกทั่วไป แต่ต้องควบคุมอุณหภูมิและแรงดันให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของไบโอพลาสติก

6. การทดสอบคุณภาพและการย่อยสลาย

ก่อนนำไปใช้ ไบโอพลาสติกต้องผ่านการทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น…

  • ความแข็งแรง (Tensile Strength)
  • ความทนต่อความร้อนและความชื้น
  • อัตราการย่อยสลายทางชีวภาพ

ซึ่งผลลัพธ์จากการทดสอบเหล่านี้ขึ้นอยู่กับ ชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ และ กระบวนการผลิตที่เลือกใช้ หากเป็นไบโอพลาสติกที่ได้จากแป้งหรือเซลลูโลส อาจมีอัตราการย่อยสลายสูงกว่าพลาสติกชีวภาพที่มีส่วนผสมของน้ำมันพืชหรือพอลิเมอร์สังเคราะห์บางชนิด นอกจากนี้ กระบวนการขึ้นรูปและสารเติมแต่งที่ใช้ก็มีผลต่อคุณสมบัติสุดท้ายของวัสดุด้วย

สรุปแล้ว! ไบโอพลาสติกทำยากหรือง่าย เหมาะกับ?

การผลิตไบโอพลาสติกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับหลัก ๆ ได้แก่ ระดับอุตสาหกรรม และ ระดับทดลอง (DIY) ซึ่งมีความซับซ้อนและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไปค่ะ ดังนี้…

  • ระดับอุตสาหกรรม: ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงค่ะ โดยสำหรับในระดับอุตสาหกรรมนั้น การผลิตไบโอพลาสติกต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะปลูกพืชเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ การสกัดสารชีวภาพ กระบวนการหมักทางชีวภาพ (Fermentation) การแปรรูปให้เป็นพอลิเมอร์ และการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป แต่ละขั้นตอนต้องใช้เครื่องจักร เทคโนโลยีทางชีวภาพ และกระบวนการทางเคมีที่แม่นยำนั่นเองค่ะ
  • ระดับทดลอง (DIY) : สำหรับในบางกรณี ไบโอพลาสติกนั้นสามารถทดลองทำเองได้ง่าย ๆ ที่บ้านค่ะโดยใช้แป้งหรือเจลาตินเป็นส่วนผสมหลัก แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องความแข็งแรงและความทนทาน ไม่สามารถใช้แทนพลาสติกเชิงพาณิชย์ได้ในระยะยาว

ดังนั้น การผลิตไบโอพลาสติกในระดับอุตสาหกรรมถือว่ามีความซับซ้อนและต้องใช้ต้นทุนสูง แต่ก็เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพสูงในการลดปัญหาขยะพลาสติกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตค่ะ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่กล่าวมาทุกคนจะเห็นได้ว่า พลาสติกชีวภาพ (Bio-Based Plastic) นั้นถือเป็นทางเลือกที่สำคัญในยุคที่โลกต้องการลดการพึ่งพาทรัพยากรฟอสซิลและแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติก แม้ว่าจะมีทั้งชนิดที่ย่อยสลายได้และไม่ย่อยสลายได้ แต่ทุกประเภทต่างมีบทบาทสำคัญในหลากหลายอุตสาหกรรม ด้วยความหลากหลายของคุณสมบัติที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะด้าน ซึ่งการเลือกใช้ Bio-Based Plastic อย่างเหมาะสมไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นการสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน ทั้งนี้ การขยายการใช้งานพลาสติกชีวภาพอย่างกว้างขวางในอนาคตจะช่วยผลักดันให้โลกของเรามีความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการดูแลสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นค่ะ

Plastic Park ขายส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ขวดปั๊ม กระปุกครีม หลอดครีม พร้อมพิมพ์ไม่จำกัดสี

พลาสติกพาร์ค เราเป็นตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์ทุกชนิด เช่น กระปุกครีม หลอดครีม ขวดครีม หัวปั้ม หัวสเปรย์ เรามีรูปแบบของบรรจุภัณฑ์หลากหลายกว่า 1,500 รายการ จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ด้วยราคาจากโรงงานโดยตรง ทั้งนี้ เรามีรูปแบบของสินค้าให้เลือกมากมายกว่า 1,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง /ขวดพลาสติก/ขวดเครื่องสำอาง / กระปุกครีม / ขวดเซรั่ม /กระปุกสครับ /ตลับครีม / ขวดอโรม่า ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่จะนำไปต่อยอดสินค้าของแต่ละท่าน เพื่อสร้างความน่าสนใจ และเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่อยู่ด้านในได้อย่างลงตัว เราเชื่อว่า หากลูกค้าได้ข้อมูลที่เพียงพอ จะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ถูกต้อง ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้า และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เกณฑ์การเลือกบริษัทบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ที่เชื่อถือได้

3 สิ่งควรรู้ก่อนสั่งทำบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง

เลือกใช้กระปุกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบไหนดีนะ ?