พลาสติก pp กับ pe ต่างกันอย่างไร แพคเกจเครื่องสำอางควรใช้ชนิดไหน?

พลาสติก pp กับ pe ต่างกันอย่างไร? เจ้าของแบรนด์หลาย ๆ คนอาจไม่ทราบว่านอกจากประเภทของ Packaging ที่เราเลือกนำมาใช้กับสินค้าที่เป็นเครื่องสำอางของเราจะสำคัญแล้ว ก็ยังมีในส่วนของชนิดพลาสติกที่เราเลือกมาใช้ด้วย เพราะแม้พลาสติกนั้นจะมีหลายชนิดให้เลือกสรร แต่ก็ใช่ว่าทุก ๆ ชนิดจะเหมาะกับการเป็น Packaging ฉะนั้นในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักพลาสติกของบรรจุภัณฑ์แต่ละชนิดกันว่ามีกี่แบบ ซึ่งชนิดของพลาสติกที่มีความโดดเด่นและได้รับความนิยมนั่นก็คือ พลาสติก pp และ pe ซึ่งจะมีข้อแตกต่างกันอย่างไร มาดูกันค่ะ

พลาสติก pp กับ pe ต่างกันอย่างไร แพคเกจเครื่องสำอางควรใช้ชนิดไหน?

พลาสติก pp กับ pe ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนจึงจะเหมาะกับสินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง?

“แพคเกจจิ้งเนื้อพลาสติก” นั้น ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากรูปลักษณ์ที่ดูใช้งานและเข้าถึงได้ง่าย จึงทำให้มันเป็นชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่เจ้าของแบรนด์ไว้วางใจที่จะเลือกไปเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอสินค้าในตลาด ทั้งนี้ อีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้เจ้าของแบรนด์เลือกขวดชนิดนี้เป็นเพราะมีราคาถูก มีหลายขนาด และมีหลายรูปแบบให้เลือกอีกด้วย จากที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงเหตุผลส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งก่อนที่เราจะลงลึกไปกับขวดแบบพลาสติก เรามาทำความรู้จักกับบรรจุภัณฑ์กันก่อนว่าคืออะไร มีความสำคัญแค่ไหน ทำไมเจ้าของแบรนด์จึงควรเลือกอย่างรอบคอบ

อย่างไรก็ตาม พลาสติก นั้น มีหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งที่ได้รับความนิยิมในการนำมาบรรจุสินค้าประเภทต่าง ๆ ก็คงหนีไม่พ้น พลาสติก pp กับ pe ที่เจ้าของแบรนด์มักจะสนใจและนำมาใช้อยู่เสมอ ทั้งนี้ สำหรับเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางมือใหม่อาจยังไม่เคยทราบหรือข้อแตกต่างของพลาสติกทั้ง 2 ชนิดนี้มาก่อน ในบทความนี้ Plastic Park จึงนำข้อมูลมาฝากค่ะ

บรรจุภัณฑ์ “พลาสติก” มีกี่ชนิด อะไรบ้าง?

บรรจุภัณฑ์พลาสติก เป็นประเภทที่ทุกคนต่างเคยพบเห็นและใช้งานมาแล้ว โดยตัวบรรจุภัณฑ์พลาสติกนั้นส่วนมากจะทำมาจากพลาสติกที่แบ่งออกได้เป็นหลักๆ 6 ด้วยกัน ได้แก่

ประเภทที่ 1 PP (Polypropylene)

พลาสติกประเภทนี้ หลายคนอาจคุ้นชื่อนี้เป็นอย่างดี เพราะเรานำพลาสติกประเภท PP มาใช้ในการผลิต บรรจุภัณฑ์อาหารต่าง ๆ เช่น จาน ชาม ขวดพลาสติก ขวดบรรจุยา เพราะพลาสติกประเภท PP นั้น เป็นพลาสติกที่ทนทานต่อความร้อน มีความเหนียว อีกทั้งยังทนแรงกระแทก ทนต่อน้ำมัน และสารเคมีต่าง ๆ อีกด้วย

ประเภทที่ 2 PVC (Polyvinylchloride)

พลาสติกประเภท PVC จึงได้รับความนิยมนำกลับมาใช้ใหม่ ในการผลิตขวดบรรจุน้ำมันพืช กล่องบรรจุอาหารแห้ง และสด ซึ่งจุดเด่นของ พลาสติกประเภท PVC นั้นคือ สามารถนำมาใช้แทนขวดแก้วได้ เพราะตกแล้วไม่แตก และมีน้ำหนักเบากว่าขวดแก้วมากนัก

ประเภทที่ 3 HDPE (High Density Polyethylene)

พลาสติกประเภทนี้ นำมาผลิต ขวดพลาสติกบรรจุภัณฑ์ ประเภทพวก ขวดแชมพู แกลลอนใส่น้ำยาต่าง ๆ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก เป็นต้น

ประเภทที่ 4 PET (Polyethylene terephthalate)

จุดเด่นของพลาสติก PET คือมีความใสและเหนียวสูง สามารถป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำที่มี ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีมาก และป้องกันการซึมผ่านของไขมันได้ดี นิยมนำมาผลิตเป็นขวดพลาสติก หรือขวดน้ำมันพืช

ประเภทที่ 5 LDPE (Low Density Polyethylene)

พลาสติก ประเภท LDPE นั้น เป็นพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นได้สูง มีความเหนียว นิ่ม และใส แต่ไม่ทนความร้อน จึงนิยมน้ำมาผลิตเป็นถุงพลาสติกใช้หิ้ว พลาสติกที่ใช้แรปห่ออาหาร อีกทั้งยังสามารถนำมาผลิตเป็นหลอดได้อีกด้วย

ประเภทที่ 6  PS (Polystyrene)

เป็นพลาสติกมีลักษณะโปร่งใส มีเนื้อที่เปราะและแตกง่าย จึงนิยมน้ำมาผลิตเป็น กล่องโฟม ถ้วย และชาม เพราะมีความทนต่อกรดและด่าง

ประเภทที่ 7 PE (Polyethylene)

เป็นพลาสติกที่เรานิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากคุณสมบัติของพลาสติกประเภทนี้ มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ จึงทำให้ต้นทุนที่ใช้ในการผลิตนั้นถูกลงไปด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับพลาสติกประเภทอื่นๆแล้ว จึงทำให้พลาสติกประเภท PE นั้นมีราคาที่ถูกที่สุด จึงเป็นที่นิยมมากที่สุดเช่นกัน โดยพลาสติกชนิดนี้นิยมนำมาใช้ทำเป็น ขวดแชมพู หรือขวดน้ำยาต่างๆ เพราะมีความทนทานต่อสารเคมี ตัวทำลาย ความเป็นกรดและด่างได้ดี แต่ทนความร้อนได้ต่ำเมื่อเทียบกับพลาสติกประเภทอื่น (ทนอุณหภูมิได้ที่ -50 ถึง 80 องศาเซลเซียส) มีความแข็งแรง คงรูปได้ดี มีความเหนียวยื่นยุ่น สีขุ่น และโปร่งแสง

ข้อดีของ บรรจุภัณฑ์พลาสติก

ข้อดีของบรรจุภัณฑ์แบบพลาสติกนั้นมีหลายประการด้วยกัน เช่น…

  • บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีราคาที่ค่อนข้างถูก ช่วยลดต้นทุนได้
  • ตัวพลาสติกมีความเหนียว น้ำหนักเบา
  • พลาสติกจะไม่นำความร้อนและกระแสไฟฟ้า
  • บรรจุภัณฑ์พลาสติกสามารถป้องกันการรั่วซึมของอากาศ และน้ำได้ดี
  • บรรจุภัณฑ์พลาสติกยังมีความสามารถทนทานต่อความชื้นและสภาพอากาศได้ ทั้งยังไม่เป็นสนิม
  • สามารถพิมพ์ลวดลายต่างๆลงบนบรรจุภัณฑ์ได้เช่นกัน

ตัวอย่างขวดชนิดเนื้อพลาสติกที่นำมาเป็นเครื่องบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง

สำหรับเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ประทินผิวนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบกระปุก แบบหลอด และขวด ซึ่งแบบขวด

ขวดดรอปเปอร์

เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลางถึงน้อย เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเซรั่ม หรือแอมพลู วัสดุส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติก และแก้ว

ขวดหัวปั้มมีสาย

เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลางถึงน้อย เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเซรั่ม จำพวกสบู่เหลว แชมพู ครีมนวด และโลชั่น วัสดุส่วนใหญ่ของขวดประเภทนี้จะเป็นพลาสติกโดยมาก ซึ่งจะมีต้นทุนที่ราคาถูกว่าบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอะคริลิค หรือแก้ว

ขวดหัวเหยาะ หรือขวดสเปรย์

เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดน้อยมาก จนถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำ ส่วนใหญ่จะเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์โทนเนอร์ น้ำแร่ เอสเซนต์ คลีนซิ่ง ซึ่งในกลุ่มนี้จะมีวัสดุให้เลือกลายแบบ ทั้งพลาสติก อะคริลิค หรือแม้กระทั้งขวดแก้ว

พลาสติก pp (Polypropylene) กับ pe (Polyethylene) ต่างกันอย่างไร?

แม้จะเป็นพลาสติกเหมือนกัน แต่พลาสติกทั้ง 2 ชนิดนี้ก็มีข้อแตกต่างกันอยู่พอควร เช่น…

ความทนทานเรื่องความร้อน

  • พลาสติก PP จะทนต่ออุณหภูมิสูงได้ดีกว่า PE ค่อนข้างมาก โดยที่ PP นั้นสามารถทนต่อความร้อนได้สูงถึง 1400C และ 1700C ในขณะที่ PE สามารถทนต่อความร้อนได้สูงที่สุดแค่ประมาณ 105.C เท่านั้นเอง
  • พลาสติก PE สามารถที่จะจะกแต่ออุณหภูมิต่ำได้ดีกว่า โดยสามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำๆได้สูงสุดถึง -800 C ในขณะที่ PP นั้น มื่อเจอกับอุณภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย ก็จะเริ่มเปราะ

ความยืดหยุ่น

  • พลาสติก  PE เป็นพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นสูง ยืดได้ง่าย ทำให้เป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับการทำเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร และฟิลม์ห่ออาหารมากกว่า
  • พลาสติก PP นั้นมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า PE ค่อนข้างมาก

ความเบาและสีสัน

  • พลาสติก PP เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบากว่า PE ค่อนข้างมาก เกี่ยวกับสี สีตั้งต้นของ PP จะเป็นสีขาว และโปร่งแสง
  • พลาสติก PE นั้นจะมีความใสที่มากกว่า แต่ว่าพวกมันก็ต้องถูกนำไปผ่านกระบวนการอัดรีดทางอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณสมบัติของมัน เช่น เพิ่มความโปร่งใส และความเหนียว เป็นต้น

ซึ่งคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมานี้เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาพิจารณาเท่านั้น เจ้าของแบรนด์ท่านใดที่อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามกับโรงงานรับผลิตบรรจุภัณฑ์ได้โดยตรง เพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลอย่างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญด้วยนั่นเอง

พลาสติก pp กับ pe อันไหนดีกว่ากัน แพคเกจจิ้งสินค้าเครื่องสำอางควรใช้พลาสติกชนิดไหน?

โดยทั้วไปแล้ว ชนิดของพลาสติกที่นิยมนำมาทำมาทำเป็น Skincare Packaging จะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ Polyethylene Terepthalate (PET) และ Polypropylene (PP) ซึ่งตัวที่มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสกินแคร์คือ PET เพราะเป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา สามารถรีไซเคิลได้ ราคาถูกกว่าแบบอื่น แถมยังช่วยป้องกันการทำลายเนื้อสกินแคร์จากแสงแดด อุณหภูมิ และออกซิเจนภายนอก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะลดประสิทธิภาพการทำงานของสกินแคร์และหมดอายุไวขึ้น ดังนั้น การเลือก Package ให้กับเครื่องสำอาง หากให้เลือกระหว่าง พลาสติก PP และ PE เจ้าของแบรนด์ควรเลือกชนิด PP จะดีที่สุด

 

อย่างไรก็ตาม สาระความรู้ทั้งหมดที่แอดมินนำมาฝากข้างต้น อาจจะเป็นตัวช่วยสำหรับคนที่กำลังมองหาความรู้ในการเลือกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งในการเลือกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางมาสร้างแบรนด์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางที่น่าดึงดูดต่อสายตาอาจจะนำไปสู่การเพิ่มยอดขายก็เป็นได้

หากคุณกำลังมองหาโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง รับผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางราคาโรงงาน พร้อมพิมพ์บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง Plasticpark เราพร้อมให้คำแนะนำในเรื่องของบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี

Plastic Park ขายส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ขวดปั๊ม กระปุกครีม หลอดครีม พร้อมพิมพ์ไม่จำกัดสี

พลาสติกพาร์ค เราเป็นตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์ทุกชนิด เช่น กระปุกครีม หลอดครีม ขวดครีม หัวปั้ม หัวสเปรย์ เรามีรูปแบบของบรรจุภัณฑ์หลากหลายกว่า 1,500 รายการ จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ด้วยราคาจากโรงงานโดยตรง ทั้งนี้ เรามีรูปแบบของสินค้าให้เลือกมากมายกว่า 1,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง /ขวดพลาสติก/ขวดเครื่องสำอาง / กระปุกครีม / ขวดเซรั่ม /กระปุกสครับ /ตลับครีม / ขวดอโรม่า ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่จะนำไปต่อยอดสินค้าของแต่ละท่าน เพื่อสร้างความน่าสนใจ และเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่อยู่ด้านในได้อย่างลงตัว เราเชื่อว่า หากลูกค้าได้ข้อมูลที่เพียงพอ จะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ถูกต้อง ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้า และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เกณฑ์การเลือกบริษัทบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ที่เชื่อถือได้

3 สิ่งควรรู้ก่อนสั่งทำบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง

เลือกใช้กระปุกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบไหนดีนะ ?